วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วิชา  การจัดประสบการณ์การศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
อารจารย์ผู้สอน  อ.กฤต  แจ่มถิน
ประจำวัน  พุธที่  2  เมษายน  2559
  เวลา  08.30 -12.30 น.
กลุ่ม  102  ห้อง 224


Knowledge  (ความรู้)

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  1. เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
  2. ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
  3. เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach

      1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  1. เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
  2. เกิดผลดีในระยะยาว 
  3. เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  4. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
  5. โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

      2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  1. การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  2. การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  3. การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

     3. การบำบัดทางเลือก
  1. การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  2. ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  4. การฝังเข็ม (Acupuncture)
  5. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  1. การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
  2. โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
  3. เครื่องโอภา (Communication Devices) 
  4. โปรแกรมปราศรัย
บทบาทของครู
  1. ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
  2. ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  3. จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  4. ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

     1. ทักษะทางสังคม
  1. เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
  2. การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

     กิจกรรมการเล่น
  1. การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  2. เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  3. ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

      ยุทธศาสตร์การสอน
  1. เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
  2. ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  3. จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  4. ครูจดบันทึก
  5. ทำแผน IEP

      การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  1. วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  2. คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  3. ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
  4. เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

      ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  1. อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
  2. ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  3. ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  4. เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  5. ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
 การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  1. ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  2. ทำโดย “การพูดนำของครู”
 ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  1. ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  2. การให้โอกาสเด็ก
  3. เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  4. ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
2. ทักษะภาษา

      การวัดความสามารถทางภาษา
  1. เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  2. ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  3. ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  4. บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  5. ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

      การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด.การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง

      การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  1. ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  2. ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
  3. อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  4. อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  5. ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  6. เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

      ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  1. ทักษะการรับรู้ภาษา
  2. การแสดงออกทางภาษา
  3. การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
 ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  1. การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  2. ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  3. ให้เวลาเด็กได้พูด
  4. คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  5. เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  6. เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  7. ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  8. กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  9. เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  10. ใช้คำถามปลายเปิด
  11. เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  12. ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  • แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  • ย่อยงาน 
  • เรียงลำดับตามขั้นตอน

     การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม

      การวางแผนทีละขั้น
  • แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

Skill  (ทักษะ)

      - ทักษะการคิดวิเคราะห์
      - ทักษะการตอบคำถาม


    Application  (การประยุกต์ใช้)

           นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ  เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้  เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมาปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้


    Technical  Education  (เทคนิคการสอน)
     
        - เทคการใช้สื่อในการสอน
        -เทคนิคการอธิบาย
        - เทคนิคการใช้ตัวอย่าง


     Evaluation (การประเมิน)

        Self  :  ตั้งใจเรียน   แต่งกายเรียบร้อย  เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน
        Friend  :  ตั้งใจเรียน   ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
        Teacher  :  อาจารย์สอนเข้าใจง่าย  โดยการยกตัวอย่างประกอบ  และมีการให้ความรู้เพิ่มเติมนอกสไลด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น